วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

 สรุปงานวิจัย

ชื่่องานวิจัย
          การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนว ออร์ฟ - ชูคเวิร์ค

ผู้วิจัย
           วริณธร  สิริเตชะ

ความมุ่งหมาย
            เพื่อเปรียบเทียบพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเมื่อได้รับการจัดประสบการณ์ดนตรีของแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์คก่อนและหลังการทดลอง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
             ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิงอายุระหว่าง4-5ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลที่2 จำนวน60คนของโรงเรียนศรีดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื่นที่การศึกษาสมุทรการเขต2

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
              เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระว่าง 4 -5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 ของโรงเรียนศรีดรุณ สังกัดสำนักงานเขตพื่นที่การศึกษาสมุทรการเขต2 จำนวน 30 คนซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง

ตัวแปรที่ศึกษา
             1. ตัวแปรอิสระคือ การจักประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟ - ชูคเวิร์ค
             2. ตัวแปรตามคือ ทักษะพื้นฐานทางคณิศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

เครื่องมือที่ใชในงานวิจัย
             1. แผนการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟ - ชูคเวิร์ค
             2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

สรุปผลการวิจัย
             เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางดนตรีทางแนวออร์ฟ - ชูคเวิร์คมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดนรวมและการจัดหมวดหมู่ การรู้ค่าจำนวน 1- 10 การจำแนก เปรียนเทียบและอนุกรม สูงกว่าการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสติถิที่ระดับ .01

ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้
             1. ทุกครั้งที่เริ่มกิจกรรมควรมีการทักทายทบทวนกติกาด้วยกิจกรรมที่เด็กได้อยู่นิ่งและมีสมาธิเพื่อเป็นการเตรียมในการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
             2. ในช่วงแรกเด็กๆยังไม่รู้ว่าจะต้องำอะไรในกิจกรรม ควรเริ่มด้วยการฝึกให้เด็กเป็นผู้ฟังที่ดีก่อน หลังจากนั้นการรับรู้และเรียนรู้ของเด็กจะดำเนินไปตามเป้าหมายของกิจกรรม
             3. เนื่องจากในแต่ละกิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมย่อยต่าๆที่เชื่อมต่อกันเป็นเรื่องราว นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์และสื่อการสอนที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นให้เด็กรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม
             4. การเตรียมสื่อการสอนอุปกรณ์ต่างๆรวมถึงเครื่องดนตรีที่ต้องใช้ในเเต่ละกิจกรรมควรเตรียมให้พร้อมใช้และจัดวางอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมสอดคล้องกับกิจกรรมเพื่อให้กิจกรรมดำเนินไปอย่างราบรื่นและตรงตามวัตถุประสงค์
             5. อุปกรณ์ สื่อหรือเครื่องดนตรีที่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดประดิษฐ์ด้วยตนเองเพื่อกระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้เข้าร่วมกิจกรมและทำให้กิจกรรมนี้มีความหมายสำหรับตัวเด็กเอง

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16
วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กิจกรรมในห้อง



  • อาจารย์พูดถึงเรื่องที่จะไปศึกษาดูงานที่หนองคายและประเทศลาวพร้อมทั้งให้นักศึกษาที่จะไป
  • งานปัจฉิมนิเทศและงานเลี้ยงพี่ปี 5 จัดในวันที่ 3 มีนาคม 2556
  • อาจารย์หาข้อตกลงร่วมกับนักศึกษาเรื่องการสอบ งานกีฬาสีและงานเลี้ยงรุ่นพี่ปี5ซึ่งได้ข้อสรุปดังนี้
  1. สอบในวันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13.00 น.
  2. งานกีฬาสี จัดในวันที่ 2 มีนาคม 2556
  • อาจารย์ให้สรุปในหัวข้อที่ว่า
 - การเรียนในรายวิชานี้ 
  • ได้ความรู้อะไร 
  • ได้ทักษะอะไร 
  • วิธีสอนคืออะไร
บันทึกการเรียนคั้งที่ 15 
วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556


กิจกรรมในห้อง สาธิตการสอน 
-   หน่วย เรื่องร่างกายของฉัน






  • คุณครูถามเด็กว่า "เด็กๆบอกครูซิค่ะว่าอวัยวะภายนอกมีอะไรบ้าง"
  • คุณครูนำบัตรภาพมาให้ดูและถามว่ามีชื่อเรียกว่าอะไร และอวัยวะที่เด็กๆเห็นเหมือนของเด็กๆหรือป่าว
  • คุณครูถามเด็กว่า "เด็กลองดูซิค่ะว่าอวัยวะของเด็กๆมีลักษณะอย่างไรกันบ้างค่ะ"
  • คุณครูควรจดบัน เมื่อเด็กตอบ
  • เมื่อสรุปถึงความเเตกต่างให้พูดถึงสิ่งที่เหมือนก่อนแล้วค่อยพูกถึงสิ่งที่แตกต่างกัน



เพลงเกี่ยวกับอวัยวะ คือ
 เพลง ตาดูหูฟัง
ตาเรามีไว้ดู หูเรามีไว้ฟัง
คุณครูท่านสอน ท่านสั่ง
เราตั้งใจฟัง เราตั้งใจดู

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556

อาจารย์พูดเรื่อง
การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา

สาธิตการสอนกลุ่มที่ 4 เรื่อง กระดุม

วันที่ 1 ชนิดของกระดุม
  • นำเข้าสู่บทเรียน โดยที่คุณครูร้องเพลง

      หลับตาเสีย     อ่อนเพลียทั้งวัน
หลับแล้วฝัน         เห็นเทวดา
มาร่ายรำ              งามขำโสภา
พอตื่นขึ้นมา         เทวดาไม่มี
 


  • คุณครูแจกภาพที่เป็นจิ๊กซอว์ให้เด็กและให้เด็กนำมาต่อเป็นภาพให้สมบูรณ์
  • คุณครูถามเด็ก เด็กๆเห็นภาพอะไร จากนั้นคุณครูก็จดบันทึก
  • คุณครูถามเด็กว่า"เด็กๆอยากทราบไหมว่ากระดุมในขวดนี้มีทั้งหมดกี่เม็ด"
  • คุณครูและเด็กช่วยกันนับกระดุมในขวด
  • คุณครูให้เด็กร่วมกันนับรูของกระดุม ที่มี1รู และ4 รูแล้วร่วมกันสรุปว่ากระดุมที่มี1รูมีกี่เม็ดส่วนเม็ดที่เหลือคือกระดุมที่มี4 รู
วันที่ 2 ลักษณะของกระดุม
  • ให้เด็กๆแยกกระดุมโลหะกับกระดุม อโลหะ โดยใช้แม่เหล็กมาดูด เพื่อแยกแยะกระดุม ถ้าดูดได้แปลว่าเป็นกระดุมโลหะส่วนที่เหลือคือกระดุมอโลหะ
  • วาดตารางสัมพันธ์ให้เด็กร่วมกันสรุป
วันที่ 3  ประโยชน์ของกระดุม

  •  ให้แต่งนิทานที่มีความสอดคล้องและเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
วันที่ 4 วิธีการเก็บรักษากระดุม
  •  เก็บใส่กล่อง กระปุก ถุง ขวด เพื่อความสะดวกในการหยิบจับและป้องกันไม่ให้เข้าไปในร่างกายของเด็ก
  • เด็กลองบอกคุณครูสิคะว่าเราจะไปหาซื้อกระดุมได้จากที่ไหน
  • เด็กๆบอกคุณครูสิคะว่าเราจะเก็บรักษากระดุมได้อย่างไรและเก็บใสอะไรได้บ้าง










สรุปมาตราฐานทางคณิตศาสตร์ มาตราฐาน




บันทึกการเรียนครั้งที่13
วัน อังคาร ที่ 29 มกราคม พ.ศ.2556
             -   อาจารย์ได้ให้นักศึกษา เข้าเรียนพร้อมกันทั้ง 2 ห้อง และพูดคุยถึงเรื่องกิจกรรมประกวดความสามารถของคณะศึกษาศาสตร์ มีรายละเอียดดังนี้
  • การแสดงการรำ - สว่างจิต ( แพทตี้ )
  • การแสดงร้องเพลง - รัตติยา ( จูน )
  • การแสดงโฆษณา - นิศาชล ( โบว์ ) , ละไม ( เปิ้ล )
  • พิธีกร - ลูกหยี , ซาร่า
  • การแสดงโชว์
         - ลิปซิ่งเพลง - จุฑามาส , นีรชา
         - เต้นประกอบเพลง - พลอยปภัส , เกตุวดี , มาลินี
         - ละครใบ้ - ลูกหมี , จันทร์สุดา
         - ตลก - ณัฐชา , แตง , ชวนชม
  •  ผู้กำกับหน้าม้า - พวงทอง , นฎา
  •  หน้าม้า - เพื่อน ๆ ที่เหลือจะต้องเป็นน่าหม้า
             กิจกรรมครั้งนี้สามารถนำไปเชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ ดังนิ้    .นับ = จำนวนนักแสดง
  1.  การลำดับเหตุการณ์ = ลำดับการแสดงก่อนหลัง
  2.  การทำตามแบบ
  3.  การบวก
  4.  ตำแหน่งทิศทาง
บันทึกการเรียนครั้งที่12
วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556
 อาจารย์ให้เพื่อนสาธิตการสอน


กลุ่มที่1 เรื่องขนมไทย (ต่อ จากสัปดาห์ที่แล้ว)

 วันที่1
  • ถามเด็กว่า "เด็กรู้จักขนมอะไรบ้างค่ะ "
วันที่ 2 ลักษณะรูปร่างของขนมไทย

  1. ให้เด็กนับจำนวนขนมทั้งหมด = การนับ
  2.  จากนั้นแยกออก เรียงขนมจากซ้ายไปขวา = การเรียงลำดับ ทิศทาง
  3.  นับใหม่ แล้วใส่ตัวเลขกำกับ = ตัวเลข
  4.  ครูแบ่งครึ่งขนม = เศษส่วน
  5.  ครูวางเรียงขนมชั้น เม็ดขนุน สลับกันเพื่อให้เด็ก ๆ ออกมาเรียงตามแบบ = ทำตามแบบ


 กลุ่มที่ 2 เรื่องข้าว
  วันที่ 1 ลักษณะของข้าว
  1.   คุณครูถามเด็ก ๆ ว่ารู้จักข้าวอะไรบ้างค่ะ
  2.  จากนั้นให้เด็กรู้จักส่วนประกอบโดยครูแตกเป็น  My map
  3. ต่อมาคุณครูใส่ข้าวสารในภาชนะต่างกันแล้วเทข้าวสารใส่ภาชนะที่เท่ากันจากนั้นเทข้าวสารใส่ภาชนะเช่นเดิมเพื่อให้เด็กสังเกต = การอนุรักษณ์
 วันที่ 4 การเก็บรักษา
  1.   คุณครูถามเด็กว่า เด็ก ๆ เคยเห็นข้าวเก็บไว้ที่ไหนค่ะ
  2. คุณครูถามเด็กว่าทำไมเราต้องเก็บรักษาข้าว
  3. คุณครูเอารูปที่เก็บข้าวต่าง ๆ มาให้เด็กดู = รูปทรง



  กลุ่มที่ 3  เรื่องกล้วย
  วันที่ 1 ชื่อของกล้วยชนิดต่าง ๆ
  1.  คุณครูถามว่า"เด็ก ๆ รู้จักกล้วยอะไรบ้างค่ะ "
  2.  คุณครูถามว่า"เด็ก ๆ ทราบหรือไม่ว่าในตระกล้ามีกล้วยอะไรบ้าง"
  3. จากนั้นให้เด็ก ๆ หยิบกล้วยมาเรียงแล้วนับ,หยิบภาพเรียงลำดับ = การเรียงลำดับ,การนับ
 วันที่ 2 ลักษณะของกล้วย
  1. คุณครูทบทวนเรื่องที่เรียนเมื่อวานนี้โดยการว่า "เมื่อวานนี้เด็กรู้จักกล้วยอะไรบ้างค่ะ"
  2. คุณครูหยิบกล้วยออกมา 1 หวี จากนั้นใช้ตัวเลขกำกับ
  3.  คุณครูเปิดโอกาศให้เด็กได้สัมผัสกล้วย
วันที่ 3 ข้อควรระวัง
  •   ใช้นิทานเป็นสื่อการสอนเพราะเป็นเนื้อหาความรู้ = เรื่องตำแหน่ง ทิศทาง
 วันที 4 การขยายพันธ์
  1.  คุณครูใช้กระดาษตัดเป็นรูปมือ
  2. ให้เด็กๆวัดแต่ละแปลงห่างกัน 1 ฝ่ามือ ปลูกเว้นระยะเพื่อที่จะขยายพันธ์ = เนื้อที่
 
งานที่ได้รับมอบหมาย
  •   ให้นักศึกษาไปอ่านงานวิจัยคนละ 1 เรื่องพร้อมสรุปลงบล็อกเกอร์

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันอังคารที่ 15 มกราคม 2556

    เพื่อนออกมาสาธิตการสอน เรื่อง ขนมไทย

- อาจารย์แนะนำวิธีการสอนหน้าชั้นเรียนว่าควรพูดให้เชื่อมโยงเข้ากับคณิตศาสตร์

*เลิกเรียนก่อนเวลา เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม