วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

1. อาจารย์ให้คำชี้แนะเกี่ยวกับแผนของเเต่ละกลุ่มไปคิด
* ข้อแนะนำของอาจารย์ ในหน่วยกุหลาบ
- ประเภท = ควรตัดดอกกุหลาบหนูออก
- ลักษณะ = เพิ่ม รูปร่าง รูปทรง สีผิว กลิ่น
- ประโยชน์ภายในตัว = เพื่อความสวยงาม เพื่ิอปรับสมดุลให้เข้ากับธรรมชาติ
- โทษ/ข้อควรระวัง = เมื่อสัมผัสเเละสูดดมบางคนอาจมีอาการแพ้และระคายเคือง
- การนำเสนอเเต่ละครั้งควรใช้สีอักษร วิธีการเขียนที่สามารถรับรู้ได้ง่าย

2. อาจารย์ให้เพื่อนร้องเพลง


เพลง โปเล โปลา

โปเล โปเล โปลา โปเล โปเล โปลา

เด็กน้อยยื่นสองแขนมา มือซ้ายขวา ทำลูกคลื่นทะเล

ปลาวาฬ พ่นน้ำเป็นฝอย ปลาเล็ก ปลาน้อย ว่ายตาม

ปลาวาฬ นับ 1 2 3 ใครว่ายตาม ปลาวาฬจับตัว


สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้จากเนื้อเพลง

-  เด็กได้รู้เรื่อง การนับปากเปล่า
-  เด็กได้รู้เรื่องตำแหน่ง


3.  เรื่องที่จะนำมาสอนเด็กต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและมีผลกระทบต่อตัวเด็ก

เนื้อหาของแต่ละหน่วย

1. ชื่อ (ถ้ามี)

2. ชนิด / ประเภท

3.ลักษณะ เช่น สี , ขนาด , พื้นผิว , วัสดุที่ใช้ , กลิ่น (เนื้อหาที่เกี่ยวกับสิ่งที่รับประทานได้) , รสชาติ

(เนื้อหาที่เกี่ยวกับสิ่งที่รับประทานได้)

4. ประโยชน์ มี 2 แบบ คือ - ประโยชน์ / คุณค่าในตัวของมันเอง

- ประโยชน์ที่นำไปประยุกต์ใช้

5. โทษ / ข้อควรระวัง

6. การขยายพันธุ์ สำหรับหน่วยที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต

7. การผลิต สำหรับหน่วยที่ไม่มีชีวิต

8. การดูแลรักษา



ขอยข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
(เนื้อหาหรือทักษะ นิตยา ประพฤติกิจ.2541:17-19)
1. การนับ (canting) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลข
2. ตัวเลข (number) เป็นการกำกับตัวเลข
3. การจับคู่ (matching) ใช้ทักษะการสังเกต เช่น ภาพเหมือนกัน จับคู่จำนวนกับจำนวน
4. การจัดประเภท (classification) ต้องหาเกณฑ์
5. การเปรียบเทียบ (comparing) ต้องหาฐานที่เหมือนกันก่อนที่จะเปรียบเทียบต้องรู้ค่าก่อน
6. การจัดลำดับ (ordering)
7. รูปทรงและเนื้อที่(shape and space)
8. การวัด (measurement) การหาค่าหรือปริมาณ
9. เซต (set) มีหน้าที่เชื่อมโยง
10. เศษส่วน (Fraction)
11. การทำตามแบบหรือหรือลวดลาย (patterning)
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ(conservation)

เยาวพา เดชะคุปด์ (2542:87-88) ได้เสนอการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา
เพื่อจัดประสบการณ์ให้เด็ก ดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต
2. จำนวน 1- 10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่จำนวนคี่
3.ระบบจำนวน (number system)
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
5. คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (properties of math)
6. ลำดับที่
7. การวัด (measurement) หาค่าในเชิงปริมาณ
8. รูปทรงเรขาคณิต เป็นพื้นฐานที่อยู่รอบตัวเรา
9.สถิติและกราฟ การหาความสัมพันธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น