วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

 สรุปงานวิจัย

ชื่่องานวิจัย
          การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนว ออร์ฟ - ชูคเวิร์ค

ผู้วิจัย
           วริณธร  สิริเตชะ

ความมุ่งหมาย
            เพื่อเปรียบเทียบพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเมื่อได้รับการจัดประสบการณ์ดนตรีของแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์คก่อนและหลังการทดลอง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
             ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิงอายุระหว่าง4-5ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลที่2 จำนวน60คนของโรงเรียนศรีดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื่นที่การศึกษาสมุทรการเขต2

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
              เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระว่าง 4 -5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 ของโรงเรียนศรีดรุณ สังกัดสำนักงานเขตพื่นที่การศึกษาสมุทรการเขต2 จำนวน 30 คนซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง

ตัวแปรที่ศึกษา
             1. ตัวแปรอิสระคือ การจักประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟ - ชูคเวิร์ค
             2. ตัวแปรตามคือ ทักษะพื้นฐานทางคณิศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

เครื่องมือที่ใชในงานวิจัย
             1. แผนการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟ - ชูคเวิร์ค
             2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

สรุปผลการวิจัย
             เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางดนตรีทางแนวออร์ฟ - ชูคเวิร์คมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดนรวมและการจัดหมวดหมู่ การรู้ค่าจำนวน 1- 10 การจำแนก เปรียนเทียบและอนุกรม สูงกว่าการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสติถิที่ระดับ .01

ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้
             1. ทุกครั้งที่เริ่มกิจกรรมควรมีการทักทายทบทวนกติกาด้วยกิจกรรมที่เด็กได้อยู่นิ่งและมีสมาธิเพื่อเป็นการเตรียมในการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
             2. ในช่วงแรกเด็กๆยังไม่รู้ว่าจะต้องำอะไรในกิจกรรม ควรเริ่มด้วยการฝึกให้เด็กเป็นผู้ฟังที่ดีก่อน หลังจากนั้นการรับรู้และเรียนรู้ของเด็กจะดำเนินไปตามเป้าหมายของกิจกรรม
             3. เนื่องจากในแต่ละกิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมย่อยต่าๆที่เชื่อมต่อกันเป็นเรื่องราว นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์และสื่อการสอนที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นให้เด็กรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม
             4. การเตรียมสื่อการสอนอุปกรณ์ต่างๆรวมถึงเครื่องดนตรีที่ต้องใช้ในเเต่ละกิจกรรมควรเตรียมให้พร้อมใช้และจัดวางอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมสอดคล้องกับกิจกรรมเพื่อให้กิจกรรมดำเนินไปอย่างราบรื่นและตรงตามวัตถุประสงค์
             5. อุปกรณ์ สื่อหรือเครื่องดนตรีที่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดประดิษฐ์ด้วยตนเองเพื่อกระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้เข้าร่วมกิจกรมและทำให้กิจกรรมนี้มีความหมายสำหรับตัวเด็กเอง

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16
วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กิจกรรมในห้อง



  • อาจารย์พูดถึงเรื่องที่จะไปศึกษาดูงานที่หนองคายและประเทศลาวพร้อมทั้งให้นักศึกษาที่จะไป
  • งานปัจฉิมนิเทศและงานเลี้ยงพี่ปี 5 จัดในวันที่ 3 มีนาคม 2556
  • อาจารย์หาข้อตกลงร่วมกับนักศึกษาเรื่องการสอบ งานกีฬาสีและงานเลี้ยงรุ่นพี่ปี5ซึ่งได้ข้อสรุปดังนี้
  1. สอบในวันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13.00 น.
  2. งานกีฬาสี จัดในวันที่ 2 มีนาคม 2556
  • อาจารย์ให้สรุปในหัวข้อที่ว่า
 - การเรียนในรายวิชานี้ 
  • ได้ความรู้อะไร 
  • ได้ทักษะอะไร 
  • วิธีสอนคืออะไร
บันทึกการเรียนคั้งที่ 15 
วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556


กิจกรรมในห้อง สาธิตการสอน 
-   หน่วย เรื่องร่างกายของฉัน






  • คุณครูถามเด็กว่า "เด็กๆบอกครูซิค่ะว่าอวัยวะภายนอกมีอะไรบ้าง"
  • คุณครูนำบัตรภาพมาให้ดูและถามว่ามีชื่อเรียกว่าอะไร และอวัยวะที่เด็กๆเห็นเหมือนของเด็กๆหรือป่าว
  • คุณครูถามเด็กว่า "เด็กลองดูซิค่ะว่าอวัยวะของเด็กๆมีลักษณะอย่างไรกันบ้างค่ะ"
  • คุณครูควรจดบัน เมื่อเด็กตอบ
  • เมื่อสรุปถึงความเเตกต่างให้พูดถึงสิ่งที่เหมือนก่อนแล้วค่อยพูกถึงสิ่งที่แตกต่างกัน



เพลงเกี่ยวกับอวัยวะ คือ
 เพลง ตาดูหูฟัง
ตาเรามีไว้ดู หูเรามีไว้ฟัง
คุณครูท่านสอน ท่านสั่ง
เราตั้งใจฟัง เราตั้งใจดู

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556

อาจารย์พูดเรื่อง
การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา

สาธิตการสอนกลุ่มที่ 4 เรื่อง กระดุม

วันที่ 1 ชนิดของกระดุม
  • นำเข้าสู่บทเรียน โดยที่คุณครูร้องเพลง

      หลับตาเสีย     อ่อนเพลียทั้งวัน
หลับแล้วฝัน         เห็นเทวดา
มาร่ายรำ              งามขำโสภา
พอตื่นขึ้นมา         เทวดาไม่มี
 


  • คุณครูแจกภาพที่เป็นจิ๊กซอว์ให้เด็กและให้เด็กนำมาต่อเป็นภาพให้สมบูรณ์
  • คุณครูถามเด็ก เด็กๆเห็นภาพอะไร จากนั้นคุณครูก็จดบันทึก
  • คุณครูถามเด็กว่า"เด็กๆอยากทราบไหมว่ากระดุมในขวดนี้มีทั้งหมดกี่เม็ด"
  • คุณครูและเด็กช่วยกันนับกระดุมในขวด
  • คุณครูให้เด็กร่วมกันนับรูของกระดุม ที่มี1รู และ4 รูแล้วร่วมกันสรุปว่ากระดุมที่มี1รูมีกี่เม็ดส่วนเม็ดที่เหลือคือกระดุมที่มี4 รู
วันที่ 2 ลักษณะของกระดุม
  • ให้เด็กๆแยกกระดุมโลหะกับกระดุม อโลหะ โดยใช้แม่เหล็กมาดูด เพื่อแยกแยะกระดุม ถ้าดูดได้แปลว่าเป็นกระดุมโลหะส่วนที่เหลือคือกระดุมอโลหะ
  • วาดตารางสัมพันธ์ให้เด็กร่วมกันสรุป
วันที่ 3  ประโยชน์ของกระดุม

  •  ให้แต่งนิทานที่มีความสอดคล้องและเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
วันที่ 4 วิธีการเก็บรักษากระดุม
  •  เก็บใส่กล่อง กระปุก ถุง ขวด เพื่อความสะดวกในการหยิบจับและป้องกันไม่ให้เข้าไปในร่างกายของเด็ก
  • เด็กลองบอกคุณครูสิคะว่าเราจะไปหาซื้อกระดุมได้จากที่ไหน
  • เด็กๆบอกคุณครูสิคะว่าเราจะเก็บรักษากระดุมได้อย่างไรและเก็บใสอะไรได้บ้าง










สรุปมาตราฐานทางคณิตศาสตร์ มาตราฐาน




บันทึกการเรียนครั้งที่13
วัน อังคาร ที่ 29 มกราคม พ.ศ.2556
             -   อาจารย์ได้ให้นักศึกษา เข้าเรียนพร้อมกันทั้ง 2 ห้อง และพูดคุยถึงเรื่องกิจกรรมประกวดความสามารถของคณะศึกษาศาสตร์ มีรายละเอียดดังนี้
  • การแสดงการรำ - สว่างจิต ( แพทตี้ )
  • การแสดงร้องเพลง - รัตติยา ( จูน )
  • การแสดงโฆษณา - นิศาชล ( โบว์ ) , ละไม ( เปิ้ล )
  • พิธีกร - ลูกหยี , ซาร่า
  • การแสดงโชว์
         - ลิปซิ่งเพลง - จุฑามาส , นีรชา
         - เต้นประกอบเพลง - พลอยปภัส , เกตุวดี , มาลินี
         - ละครใบ้ - ลูกหมี , จันทร์สุดา
         - ตลก - ณัฐชา , แตง , ชวนชม
  •  ผู้กำกับหน้าม้า - พวงทอง , นฎา
  •  หน้าม้า - เพื่อน ๆ ที่เหลือจะต้องเป็นน่าหม้า
             กิจกรรมครั้งนี้สามารถนำไปเชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ ดังนิ้    .นับ = จำนวนนักแสดง
  1.  การลำดับเหตุการณ์ = ลำดับการแสดงก่อนหลัง
  2.  การทำตามแบบ
  3.  การบวก
  4.  ตำแหน่งทิศทาง
บันทึกการเรียนครั้งที่12
วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556
 อาจารย์ให้เพื่อนสาธิตการสอน


กลุ่มที่1 เรื่องขนมไทย (ต่อ จากสัปดาห์ที่แล้ว)

 วันที่1
  • ถามเด็กว่า "เด็กรู้จักขนมอะไรบ้างค่ะ "
วันที่ 2 ลักษณะรูปร่างของขนมไทย

  1. ให้เด็กนับจำนวนขนมทั้งหมด = การนับ
  2.  จากนั้นแยกออก เรียงขนมจากซ้ายไปขวา = การเรียงลำดับ ทิศทาง
  3.  นับใหม่ แล้วใส่ตัวเลขกำกับ = ตัวเลข
  4.  ครูแบ่งครึ่งขนม = เศษส่วน
  5.  ครูวางเรียงขนมชั้น เม็ดขนุน สลับกันเพื่อให้เด็ก ๆ ออกมาเรียงตามแบบ = ทำตามแบบ


 กลุ่มที่ 2 เรื่องข้าว
  วันที่ 1 ลักษณะของข้าว
  1.   คุณครูถามเด็ก ๆ ว่ารู้จักข้าวอะไรบ้างค่ะ
  2.  จากนั้นให้เด็กรู้จักส่วนประกอบโดยครูแตกเป็น  My map
  3. ต่อมาคุณครูใส่ข้าวสารในภาชนะต่างกันแล้วเทข้าวสารใส่ภาชนะที่เท่ากันจากนั้นเทข้าวสารใส่ภาชนะเช่นเดิมเพื่อให้เด็กสังเกต = การอนุรักษณ์
 วันที่ 4 การเก็บรักษา
  1.   คุณครูถามเด็กว่า เด็ก ๆ เคยเห็นข้าวเก็บไว้ที่ไหนค่ะ
  2. คุณครูถามเด็กว่าทำไมเราต้องเก็บรักษาข้าว
  3. คุณครูเอารูปที่เก็บข้าวต่าง ๆ มาให้เด็กดู = รูปทรง



  กลุ่มที่ 3  เรื่องกล้วย
  วันที่ 1 ชื่อของกล้วยชนิดต่าง ๆ
  1.  คุณครูถามว่า"เด็ก ๆ รู้จักกล้วยอะไรบ้างค่ะ "
  2.  คุณครูถามว่า"เด็ก ๆ ทราบหรือไม่ว่าในตระกล้ามีกล้วยอะไรบ้าง"
  3. จากนั้นให้เด็ก ๆ หยิบกล้วยมาเรียงแล้วนับ,หยิบภาพเรียงลำดับ = การเรียงลำดับ,การนับ
 วันที่ 2 ลักษณะของกล้วย
  1. คุณครูทบทวนเรื่องที่เรียนเมื่อวานนี้โดยการว่า "เมื่อวานนี้เด็กรู้จักกล้วยอะไรบ้างค่ะ"
  2. คุณครูหยิบกล้วยออกมา 1 หวี จากนั้นใช้ตัวเลขกำกับ
  3.  คุณครูเปิดโอกาศให้เด็กได้สัมผัสกล้วย
วันที่ 3 ข้อควรระวัง
  •   ใช้นิทานเป็นสื่อการสอนเพราะเป็นเนื้อหาความรู้ = เรื่องตำแหน่ง ทิศทาง
 วันที 4 การขยายพันธ์
  1.  คุณครูใช้กระดาษตัดเป็นรูปมือ
  2. ให้เด็กๆวัดแต่ละแปลงห่างกัน 1 ฝ่ามือ ปลูกเว้นระยะเพื่อที่จะขยายพันธ์ = เนื้อที่
 
งานที่ได้รับมอบหมาย
  •   ให้นักศึกษาไปอ่านงานวิจัยคนละ 1 เรื่องพร้อมสรุปลงบล็อกเกอร์

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันอังคารที่ 15 มกราคม 2556

    เพื่อนออกมาสาธิตการสอน เรื่อง ขนมไทย

- อาจารย์แนะนำวิธีการสอนหน้าชั้นเรียนว่าควรพูดให้เชื่อมโยงเข้ากับคณิตศาสตร์

*เลิกเรียนก่อนเวลา เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันอังคารที่ 8 มกราคม 2556


1. อาจารย์พูดเกี่ยวกับ หัวข้อดังนี้

    สาระมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์ปฐมวัย (สสวท.)

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ ( เข้าใจถึงการเเสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตประจำวัน)
  • สาระที่ 2 : การวัด (พื้นฐานเกี่ยวกับการวัด น้ำหนัก ปริมาณ เวลา)
  • สาระที่ 3 : เรขาคณฺิต (ใช้คำในการบอกทิศทาง ต่ำแหน่ง ระยะทาง)
  • สาระที่ 4 : พืชคณิต (เข้าใจรูปแบและความสัมพันธ์)
  • สาระที่ 5 : การวิเคาะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น (รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม นำเสนอ)
  • สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่่อสารทางคณิตศาสตร์และนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และความคิดสร้างสรรค์)



*ส่งดอกไม้จากแกนกระดาษทิชชู่

           การนำดอกไม้จากเเกนทิชชู่ไปใช้ในการเรียนการสอน
เป็นสื่อในการสอน
  • ถามเด็กว่าดอกไม้ทั้งหมดมีเท่าไร = เศษส่วน
  • ให้เด็กนับดอกไม้ = การนับ
  • แล้วนำตัวเลขมาแทนค่า = ตัวเลข
  • จัดประเภทดอกไม้มีขนาดเท่ากัน = จัดประเภท
  • เปรียบเทียบขนาดใหญ่ - เล็ก = เรียงลำดับ,การเปรียบเทียบ,การวัด
  • กลุ่มของแบบรูป ใหญ่ กลาง เล็ก = เซต
  • นำดอกไม้มาวางเยื้องกัน = การอนุรักษ์
การนำมาเป็นของเล่นให้เด็กเล่นเอง

  • การร้อยทำเป็นโมบาย
  • ทำเป็นบล็อกต่อเล่นได้



บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันอังคารที่ 1 มกราคม 2556

*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดปีใหม่

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 25 ธันวาคม 2555
*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค



บันทึกครั้งที่ 7
วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2555

*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดเข้ากีฬาสีคณะครูอาจารย์

*งานที่ได้รับมอบหมาย





ให้นักศึกษาไปประดิษฐ์แกนกระดาษทิชชู่

อุปกรณ์

  • กระดาษแข็ง
  • กระดาษสี 3 สี
  • กาว
  • กรรไกร
บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2555

- ส่งแผนของหน่วยที่กลุ่มตัวเองสอน



* นักศึกษาเห็นกล่องแล้วนึกถึงอะไร
     - ของเล่น
     - ไว้ใส่ของ
     - ความกว้าง ความยาว
     - ของขวัญ
* นักศึกษาอยากให้กล่องเป็นอะไร
     - บ้าน
     - ตึก
     - หุ่นยนต์
     - ทอง
* นักศึกษากล่องสามารถประยุกต์ใช้เป็นอะไรได้บ้าง
     - โมบาย
     - ใส่ดินสอ
     - กระเป๋า
     - บล็อกของเล่น

* ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน นำกล่องมาต่อกันโดยไม่ต้องวางแผน



วางเป็นฐานตึก


เมื่อเพื่อนทุกคนวางเสร็จจึงกลายเป็น "คนท้องถือมีด"

* ให้นักศึกษานำกล่องมาต่อกันอีกรอบโดยให้วางแผนกันในกลุ่มจะต่อกันเป็นอะไร





เรือมหัศจรรย์
สามารถวิ่งบนบก ดำน้ำได้ บินบนฟ้าได้

* หลังจากนั้นให้สมาชิกทุกคนนำสิ่งประดิษฐ์มาจัดรวมกัน 



*งานที่ได้รับมอบหมาย

         นำแกนกระดาษทิชชู่ โดยตัดออกเป็น 3 ส่วน ตัดกระดาษสี 3 สี เเดง ชมพู ส้ม แล้วตัดกระดาษแข็งเป็นรูปดอกไม้แล้วเจาะรู นำมาปิดหัวท้าย


บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

1. อาจารย์ดูงานที่สั่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

 2.อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปเล่าความเรียงหน้าชั้น






ความรู้ที่ได้รับ 



- ในการวาดภาพควรให้เด็กใช้สีมากกว่าดินสอ เพราะการใช้ดินสอทำให้เด็กมีโอกาสในการลบทำให้เด็กขาดความมั่นใจในตัวเองและไม่รู้จักการแก้ไขปัญหา
- ถ้าจะให้เด็กรับรู้เนื้อหาที่ต้องการจะสอนควรสอนผ่านนิทาน


*ข้อแนะนำของอาจารย์
เมื่อนักศึกษาทำงานควรมีการจดบันทึกไว้เป็นของตัวเอง


*งานที่ได้รับมอบหมาย
- ให้เขียนแผนของกลุ่มตัวเอง
- ให้นำกล่องมาคนละ 1 กล่อง
บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2555

*อาจารย์แนะนำในเรื่องของการจัดประสบการณ์ในแต่ละวันว่าควรจะสอนเรื่องอะไรก่อน ดังนี้

วันจันทร์ =ชนิด(ประเภท)
วันอังคาร =ลักษณะ
วันพุธ= ส่วนประกอบ
วันพฤหัสบดี = ประโยชน์
วันศุกร์= ข้อควรระวังหรือการดูแลรักษา

**การบ้าน**
ให้นำแผนของกลุ่มไปเขียนเรียงความต่อเนื่องโดยใช้คณิตทั้ง12ข้อ



บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

1. อาจารย์ให้คำชี้แนะเกี่ยวกับแผนของเเต่ละกลุ่มไปคิด
* ข้อแนะนำของอาจารย์ ในหน่วยกุหลาบ
- ประเภท = ควรตัดดอกกุหลาบหนูออก
- ลักษณะ = เพิ่ม รูปร่าง รูปทรง สีผิว กลิ่น
- ประโยชน์ภายในตัว = เพื่อความสวยงาม เพื่ิอปรับสมดุลให้เข้ากับธรรมชาติ
- โทษ/ข้อควรระวัง = เมื่อสัมผัสเเละสูดดมบางคนอาจมีอาการแพ้และระคายเคือง
- การนำเสนอเเต่ละครั้งควรใช้สีอักษร วิธีการเขียนที่สามารถรับรู้ได้ง่าย

2. อาจารย์ให้เพื่อนร้องเพลง


เพลง โปเล โปลา

โปเล โปเล โปลา โปเล โปเล โปลา

เด็กน้อยยื่นสองแขนมา มือซ้ายขวา ทำลูกคลื่นทะเล

ปลาวาฬ พ่นน้ำเป็นฝอย ปลาเล็ก ปลาน้อย ว่ายตาม

ปลาวาฬ นับ 1 2 3 ใครว่ายตาม ปลาวาฬจับตัว


สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้จากเนื้อเพลง

-  เด็กได้รู้เรื่อง การนับปากเปล่า
-  เด็กได้รู้เรื่องตำแหน่ง


3.  เรื่องที่จะนำมาสอนเด็กต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและมีผลกระทบต่อตัวเด็ก

เนื้อหาของแต่ละหน่วย

1. ชื่อ (ถ้ามี)

2. ชนิด / ประเภท

3.ลักษณะ เช่น สี , ขนาด , พื้นผิว , วัสดุที่ใช้ , กลิ่น (เนื้อหาที่เกี่ยวกับสิ่งที่รับประทานได้) , รสชาติ

(เนื้อหาที่เกี่ยวกับสิ่งที่รับประทานได้)

4. ประโยชน์ มี 2 แบบ คือ - ประโยชน์ / คุณค่าในตัวของมันเอง

- ประโยชน์ที่นำไปประยุกต์ใช้

5. โทษ / ข้อควรระวัง

6. การขยายพันธุ์ สำหรับหน่วยที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต

7. การผลิต สำหรับหน่วยที่ไม่มีชีวิต

8. การดูแลรักษา



ขอยข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
(เนื้อหาหรือทักษะ นิตยา ประพฤติกิจ.2541:17-19)
1. การนับ (canting) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลข
2. ตัวเลข (number) เป็นการกำกับตัวเลข
3. การจับคู่ (matching) ใช้ทักษะการสังเกต เช่น ภาพเหมือนกัน จับคู่จำนวนกับจำนวน
4. การจัดประเภท (classification) ต้องหาเกณฑ์
5. การเปรียบเทียบ (comparing) ต้องหาฐานที่เหมือนกันก่อนที่จะเปรียบเทียบต้องรู้ค่าก่อน
6. การจัดลำดับ (ordering)
7. รูปทรงและเนื้อที่(shape and space)
8. การวัด (measurement) การหาค่าหรือปริมาณ
9. เซต (set) มีหน้าที่เชื่อมโยง
10. เศษส่วน (Fraction)
11. การทำตามแบบหรือหรือลวดลาย (patterning)
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ(conservation)

เยาวพา เดชะคุปด์ (2542:87-88) ได้เสนอการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา
เพื่อจัดประสบการณ์ให้เด็ก ดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต
2. จำนวน 1- 10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่จำนวนคี่
3.ระบบจำนวน (number system)
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
5. คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (properties of math)
6. ลำดับที่
7. การวัด (measurement) หาค่าในเชิงปริมาณ
8. รูปทรงเรขาคณิต เป็นพื้นฐานที่อยู่รอบตัวเรา
9.สถิติและกราฟ การหาความสัมพันธ์

บันทึการเรียนครั้งที่ 2
วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


1. อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาวาดภาพอะไรก็ได้ที่ชอบ 1 ภาพพร้อมเขียนชื่อ-นามสกุล






- อาจารย์ถามนักศึกษาว่า"นักศึกษาคนใดมาก่อน 08.30 น.บ้าง"แล้วให้นักศึกษานำสัญลักษณ์ที่แทนตัวนักศึกษาไปติดบนกระดาน โดยมีเส้นเวลาที่อาจารย์เตรียมไว้ โดยที่อาจารย์จะไม่บอกว่าให้ติดตำแหน่งใด
* ข้อความรู้ที่ได้
- นักศึกษาที่มาก่อน 08.30 ควรติดให้อยู่หน้าเส้นที่กำหนด
- การสอนเด็กปฐมวัยต้องมรลำดับขั้นตอน

- อาจารย์กำหนดขึ้นมาแล้วให้นักศึกษานำภาพไปติดบนกระดาน เช่น ใครวาดภาพสิ่งที่ไม่ชีวิต แล้วให้นักศึกษานับ
* การสอนเด็กปฐมวัย ควรนับ มี1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2 ไปเรื่อยๆ

2. อาจารย์เปิดเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

- อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 5 คน สร้างหน่วยขึ้นมา 1 เรื่อง แล้วแตกเนื้อหา
ข้อคิดที่ได้
- ครูปฐมวัยควรเป็นแบบอย่างที่ดีเพราะเด็กจะเลียนแบบอย่างจากครู

- วิธีการให้ประสบการณ์เด็กที่ดี คือ ให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์บนพื้นฐานของคณิตศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน


- การช่วยทำให้เด็กเข้าใจง่ายและไม่สับสนคณิตศาสตร์เวลาที่เราแบ่ง จำแนกประเภทนั้นเราต้องตั้งเกณฑ์ขึ้นมา ซึ่งเกณฑ์นั้นจะต้องสร้างเกณฑ์เดียว

 - คณิตศาสตร์ของเด็ก การนับ > ค่า > จำนวน > แทนค่าด้วยเลขฮินดูอาราบิก

- การสอนคณิตศาสตร์เราสามารถใช้สื่อ เช่น เพลง คำคล้องจอง นิทาน เกมการศึกษา เป็นต้น

- เกมการศึกษา > ลอตโต้ คือ การศึกษารายละเอียดของภาพ

* แกนสัมพันธ์ 2 แกน

*โดมิโน่ คือ ภาพต่อปลาย

* จิ๊กซอ คือ นำภาพย่อยมาต่อเป็นภาพใหญ่ที่สมบูรณ์

* จับคู่ คือ ภาพเหมือน สี ขนาด (ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่เราจะเอาไปใส่)

*  เกมเรียงลำดับเหตุการณ์ คือ มีความเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่อง

* อนุกรม เป็นการเชื่อมโยงที่เป็นชุดๆ

*อุปมา - อุปมัย เช่น สีฟ้า - ทะเล

3. กิจกรรมกลางแจ้ง  แบ่งออกเป็น
1. เกมเบ็ดเตล็ด ไม่มีกติกามากมาย,ไม่มีรูปแบบตายตัว

2. เกมแบบผลัด

3. เกมเสรี เลือกเล่นตามความต้องการของตนเอง